How-To: 5 ขั้นตอนการสมัครเข้ามหาวิทยาลัย

welcome

ที่มา:เอกสารสำหรับนักเรียนทุนก.พ. อ่านต่อ...



Story#13 No Time to Waste

Visit: https://codingugly.com/?p=157

ในช่วงที่ผ่านมา มีคนพูดถึงประเด็น เวลามีมูลค่าบ่อยมาก อาจเป็นเพราะ เร็วๆนี้ผู้ว่าชัชชาติได้พูดถึงกรณีมูลค่าของเวลาในการสร้างรถไฟความเร็วสูง ซึ่งก็ตรงกับการพัฒนาซอฟต์แวร์เช่นกัน

Sponsored by: https://codingugly.com, Tech Leadership Anti-Patterns

ลองมองย้อนกลับไปยังโปรเจคที่เกิดความล่าช้าในการส่งมอบกัน อะไรที่ทำให้ใช้เวลานาน บางโปรเจ็คใช้เวลามากขึ้นเป็นเท่าตัว คุณเคยลองวิเคราะห์หรือไม่ว่า เวลาที่เสียไป เสียไปกับอะไรบ้าง

จากบทความเรื่อง “Software Development Waste” ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ International Conference on Software Engineering (ICSE) , 2017 ที่ได้เฝ้าดูการพัฒนาซอฟต์แวร์ 8 โปรเจ็คในระยะเวลา 2 ปีครึ่ง แล้วแยกแยะ waste ต่างๆ ในกระบวนการทำซอฟต์แวร์ ออกเป็นกรณีๆ ผมจึงคิดว่า มันน่าจะมีประโยชน์ในแง่ของ Checklist หากทีมใดจะนำไปใช้ เพื่อลด waste และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ผมขอเริ่มกันเลยครับ

Waste#1 Product ที่ไม่มีใครต้องการ

เป็น waste ที่เสียไปในการสร้างสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ใช้งานไม่ได้ ไม่ตอบโจทย์ กล่าวคือ… อ่านต่อ...



Story#12 อย่าปล่อยให้โค้ดส่งกลิ่น

Visit: https://codingugly.com/?p=147

เคยใช้ app ที่ยิ่งใช้ไปนานๆ ยิ่งรู้สึกอยากเลิกใช้ ไม๊ครับ แบบอยากให้เรท 1 ดาว เพราะใช้แล้วติดๆขัดๆ บั๊กเยอะ ใช้ยาก ไม่เหมือนตอนใช้ตอนแรกๆ หรือเคยได้ยินเรื่องราวของซอฟต์แวร์ที่ประสบปัญหาการใช้งานบ้างไม๊ครับ เหตุที่เป็นเช่นนั้น ส่วนหนึ่งมาจากโค้ดเน่าๆที่แฝงตัวอยู่ในโปรเจคเป็นไวรัสพร้อมที่จะติดต่อไปหาโปรแกรมเมอร์คนอื่นได้ทุกเมื่อ ลองมาทำความเข้าใจถึงสาเหตุของการส่งกลิ่น และทำไมถึงติดต่อกันได้ครับ

ธรรมชาติของการพัฒนาซอฟต์แวร์ มักจะมี deadline ในการส่งมอบ working software ให้กับลูกค้า หรือ users เป็นรอบๆ และบางครั้งก็เร่งรีบจากสาเหตุหลายประการ ทำให้ทีมพยายาม focus ไปที่ features ที่จะส่งมอบ และเทส feature นั้นๆ รวมถึงสิ่งที่พอจะทำได้เช่น performance ในขณะที่มักจะลืมสิ่งที่ถูกมองข้ามได้ง่ายอย่างเช่น maintainability และ reusability

ถ้าโปรเจคส่งมอบได้ จะเข้าสู่โหมด maintenance ในช่วงนี้จะมีการแก้โค้ดและ enhancement ในลักษณะเพิ่มโค้ดเข้าไปเรื่อยๆ ตาม feedback ที่ได้มา หากยิ่งไม่มีการ refactor หรือ improve code quality แล้วนั้น มันก็จะค่อยๆกัดกร่อน quality กล่าวคือ ถ้าในโค้ดมี “code smells”… อ่านต่อ...



⛵️Story#11 Self Organizing Team ในการแข่งเรือใบ

Visit: https://codingugly.com/?p=105

ทีมพัฒนาซอฟท์แวร์บ่อยครั้งมักจะมีการเปรียบเทียบกับทีมในการแข่งขันกีฬาที่ต้องใช้ทีมเวิร์คสูง หนึ่งในนั้นคือกีฬาเรือใบ

ที่เห็นในรูป คือการแข่ง SailGP ที่ เป็นการแข่งขันเรือใบชิงแชมป์ประจำปี ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย รวมถึงความเชี่ยวชาญและศักยภาพอันเป็นเลิศของผู้เข้าแข่งขัน
การแข่งเรือที่มีใบเช่นนี้ จำเป็นจะต้องอาศัยการปรับตัวไปกับการเปลี่ยนแปลงของทิศทางลมและคลื่น ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เปรียบได้กับการทำซอฟท์แวร์ ที่ต้องปรับตัวตาม requirement เทคโนโลยีและกระบวนการทำงาน ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา

ยิ่งถ้าได้ดูการแข่งขันกีฬาอย่าง SailGP ใน Youtube แล้ว ยิ่งทำให้เห็นภาพมากขึ้น ว่าในการแข่งเรือใบ กรังปรี สมัยใหม่นี้จะต้องอาศัยเทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัยมากๆ ผู้เข้าแข่งขันต้องร่วมกันทำงานเป็นทีมเวิร์คอย่างสูง และ Goal ในแต่ละ race ก็ชัดเจนคือต้องเข้าเส้นชัยเป็นที่หนึ่ง เปรียบได้กับทีมซอฟต์แวร์ที่แต่ละ sprint จะมี sprint goals เป็นจุดหมาย
SailGP จะมีผู้เล่นในทีมบนเรือ 5 คน ประกอบด้วย helm หรือคนคุมหางเสือ 1 คน wing trimmer 1 คน คอยปรับ aerodynamics ของเรือ และทำงานกับ flight controller 1 คน ที่คุมการควบคุมต่างที่เป็นเทคโนโลยีของเรือ และ grinder… อ่านต่อ...



🚀 Story#10 Imposter Syndrome

Visit: https://codingugly.com/?p=71

เคยบ้างไม๊ที่รู้สึกว่าโปรเจคที่เราดูแลอยู่มันไปไม่ถึงไหน เคยไม๊ที่โทษตัวเองว่าถึงแม้เราจะพยายามมากแค่ไหน ก็ไม่มี progress อะไรเกิดขึ้นเลย หรือว่าที่ตรงนี้ไม่ใช่ที่ของเรา และเรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร หรือเราเป็น imposter ในทีม ต้องยอมรับว่าความรู้สึกแบบนี้ เกิดขึ้นกับ developers, team leads หรือแม้กระทั่ง leaders ในทุกๆระดับ ที่ส่วนใหญ่จะต้องผ่านจุดนี้ จุดที่เรียกว่า Imposter Syndrome

ทำไมเราต้องตั้งคำถามกับความสามารถของเรา ต้องยอมรับก่อนว่า งานในสายพัฒนาซอฟต์แวร์ มักจะมีความซับซ้อนและไม่ตรงไปตรงมาเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ ทำให้บ่อยครั้งโปรเจคไม่ดำเนินไปข้างหน้าอย่างที่ควร feature ใหม่ๆ ไม่ผ่าน QA หรือแม้กระทั้งเรื่องเล็กๆอย่าง cycle time ของ pull request นานเกินไปกว่าจะได้ merge เข้า develop branch จนพาลทำให้เกิดคำถามในใจว่าเราไม่มีความสามารถหรือเปล่า หรือว่าเราเป็นของปลอม (imposter)

จริงๆแล้วเราต้องยอมรับก่อนว่า ความรู้สึกแบบนี้เป็นเรื่องปกติ ไม่ว่าจะอาชีพไหน ขอยกตัวอย่าง หากคุณเป็น engineering manager ที่เพิ่งถูก assign มาให้แก้ปัญหาโปรเจคที่ go live ไปแล้ว หากคุณเริ่มรู้สึกถึง imposter syndrome เมื่อไหร่… อ่านต่อ...



🚀 Story#9 ปัญหาของ Solution

Visit: https://codingugly.com/?p=51

เมื่อเร็วๆนี้ ผมถูกถามว่าเราจะทำ product อะไรขายลูกค้าดี ที่จะแก้ปัญหา xyz ให้เค้า ตั้งแต่ทำงานสาย engineering มา ผมมักจะเจอคำถามทำนองนี้บ่อยๆ ที่แยก problem และ solution ออกจากกันกล่าวคือเป็นการแยกกันของ problem ที่ลูกค้ามี และ solutions ที่จะตอบโจทย์ลูกค้า

จริงๆ approach นี้ก็ค่อนข้างมีเหตุผล แต่บางครั้งก็ไม่สามารถใช้แก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องการ innovation ด้วย เพราะฝ่าย problem ก็จะพยายามทำความเข้าใจปัญหาให้ได้มากที่สุดเพื่อให้ฝ่าย solution ไปหาทางออกให้ จึงจำเป็นต้องทำลายกำแพง problem และ solution นี้ทิ้งซะก่อน

เฮนรี่ ฟอร์ด ผู้ก่อตั้งรถยนต์ยี่ห้อฟอร์ด เคยกล่าวไว้เมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว หากไปถามลูกค้าว่าอยากได้อะไร พวกเขาจะตอบว่า “faster horses” แต่ฟอร์ดก็เลือกที่จะสร้างรถยนต์ ในสายซอฟแวร์ในปัจจุบัน ยิ่งชัดว่าบ่อยครั้งที่ลูกค้าไม่ทราบว่าเขาอยากได้ solution อะไรมาแก้ปัญหาของเขา หลายโปรเจคทำมาเพื่อแก้ปัญหา แต่ก็ไม่ได้แก้ปัญหาที่แท้จริงเลย นั่นก็เพราะว่า product team ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการค้นหาว่าปัญหาของลูกค้าคืออะไร และผลักงานที่เหลือมาให้ engineering team สร้าง… อ่านต่อ...



Story#8 Paradox ของสายการผลิตซอฟต์แวร์

Visit: https://codingugly.com/?p=46

ถึงแม้เราจะมองการทำซอฟต์แวร์เป็นงานที่ไม่เหมือนไลน์การผลิตในโรงงาน เพราะเป็นงานที่ต้องใช้ทักษะ ความคล่องตัว และความคิดสร้างสรรค์อย่างมาก แต่ในทางกลับกันเครื่องมือและกระบวนการกลับสวนทางอย่างชัดเจน

Tool ที่ป็อปปูล่ามากๆในสายนี้คือ JIRA ซึ่งเป็นบอร์ดที่ทีมงานต้องดูทุกวัน กล่าวคือทีมจะพยายามทำงาน และ move งานไปทางด้านขวาไปหา “done” ให้ได้มากที่สุด แต่ปัญหาคืองานบนบอร์ดไม่สามารถแสดงถึงความสัมพันธ์ของแต่ละงานได้อย่างถูกต้องนัก งานบางอย่างมีความต่อเนื่องกับงานก่อนหน้าและงานถัดๆไปในลักษณะ feedback loop ก่อนที่แต่ละงานจะย้ายเข้าไปอยู่ในช่อง “done“ ได้อย่างแท้จริง

ถึงแม้มันจะช่วยเรา visualize งานที่กำลังทำอยู่ว่าเสร็จไปถึงไหนแล้ว หรือแม้กระทั่งดูว่างานตอนนี้เยอะไปหรือเปล่าก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถจะ visualize ความสัมพันธ์ที่ว่าได้ ยกตัวอย่างเช่นงานที่ต้องทำการทดลอง เช่นทดลอง feature ใหม่ๆที่จะเป็นอนาคต ของบริษัท เหมือนอย่างที่ startup ทั่วไปทำ MVP (minimum viable product) คือมันยากมากที่จะเอางานมาวางเรียงกันบน JIRA board แล้วลงมือทำ และสิ่งที่อยู่ในบอร์ดก็ช่วยเราได้แค่แสดงว่างานเสร็จไปถึงไหนแล้วแค่นั้น หากเกิดกรณีนี้ สิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปคือการเน้นการใช้ story หรือใบงาน (ticket) บน JIRA ให้เป็นเหมือนการเล่าเรื่อง (narrative) และสร้างความสัมพันธ์ของแต่ละงานด้วยการ linked แต่ละ tickets เข้าหากัน ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำ คือการส่งเสริมให้ทีมงานมีการพูดคุยแบบ… อ่านต่อ...



Story#7 ทีมคุณทำงานแบบ Tetris รึป่าว?

Visit: https://codingugly.com/?p=40

Product manager จำนวนมากมองทีม development เหมือนกับบล็อก Tretis โดยไม่รู้ตัว เป็นอย่างไร มาลองดูกันครับ

การพัฒนา product อย่างที่ทราบกันดี คือต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องเป็น iterations ทำให้การบริหาร resource ต้องต่อเนื่องด้วยเช่นกัน การใส่ product backlogs เข้าไป ทำให้การันตีว่ามีงานเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และ เมื่อจัดเป็น sprint backlog แล้วยิ่งต้อง flow อย่างต่อเนืองยิ่งกว่า

คำถามประมาณว่า “ตอนนี้ทำไรอยู่?” “ให้คนนั้นมาช่วยทำดีไม๊?” “ถ้า dev คนนั้นทำ ticket นี้เสร็จ ผมจะให้เค้ามาทำอีก ticket นะ” หรือ “quarter นี้ถ้าพอมีเวลาเรา deliver feature xxx เข้าไปด้วยใน sprint นี้เลยจะทันไม๊ บางทีเราอาจต่อรองเอา epic นี้ออกไปก่อน”

จริงๆ product manager ก็ไม่ได้ทำอะไรผิด เพราะมันเป็นหน้าที่ของเขาที่ต้อง ทำให้ได้ output ให้ได้มากที่สุด ไม่เฉพาะ… อ่านต่อ...



Story#6 ทำไมยิ่งเพิ่ม feature ยิ่งใช้งานยาก

Visit: https://codingugly.com/?p=35

ใครๆก็อยากใช้ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานง่ายทั้งนั้น แต่ทำไมเราจึงเห็นซอฟต์แวร์ที่ใช้งานยากและซับซ้อนอยู่ทั่วไป ในยุค digital disruption เราจะพยายามหลีกเลี่ยง UI ที่ใช้งานยาก แต่สุดท้ายความซับซ้อน ก็เกิดขึ้นมาตามธรรมชาติโดยไม่ได้ตั้งใจ ดังนั้น software developers ต้องทำความเข้าใจถึงสาเหตุว่าทำไมความซับซ้อนของซอฟต์แวร์จึงบังเกิด

ทุกอย่างเกิดขึ้นจากความต้องการของ user เมื่อมี feature request เข้ามา การใส่ feature เข้าไปแบบง่ายที่สุด และเป็นธรรมชาติที่สุดคือการเพิ่มเข้าไปแบบดื้อๆ โดยไม่ไปแตะส่วนอื่นๆเลย แล้ว insert component ใหม่นี้เข้าไป ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มปุ่มใหม่ หรือ parameter ที่เพิ่มเข้ามาใน function เมื่อเกิดบ่อยๆซ้ำๆ ความเรียบง่ายของระบบจะหายไป และจะถูกแทนที่ด้วยความซับซ้อน pattern แบบนี้จะพบเห็นได้ทั่วไปใน enterprise software ที่บางครั้ง feature ใหม่ถูกเขียนขึ้นเพื่อ support user กลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ แต่อาจไปเพิ่มภาระให้กับ user อีกกลุ่มที่เหลือ

ทุก feature request จะมี user ที่สนับสนุนอยู่แล้ว user อยากได้และอยากให้มันเกิด แต่ถ้ามองในทางกลับกันความเรียบง่ายของระบบ เหมือนจะไม่มีผู้สนับสนุนเลย เป็น non functional… อ่านต่อ...



Story#5 วิธีกำจัด The Unfinished Feature

Visit: https://codingugly.com/?p=30

สมมติว่าบางอย่างเกิดขึ้นแล้วกันครับ ทำให้ feature นึงไม่พร้อมใช้งาน แต่มันได้เข้าไปอยู่ใน develop branch เรียบร้อยแล้ว (สมมติว่าใช้ git flow) คุณในฐานะที่เป็นเป็นผู้รับผิดชอบ product การเอา feature เข้าออกอาจเป็นเรื่องปกติ แต่มาเจอแบบ last minute แบบนี้ ก็สามารถทำให้ปวดหัวได้เช่นกัน เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นได้ ไม่เป็นไรครับ ลองมาดูว่าจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร โดยขอใช้เป็น git command line ในการอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เห็นภาพง่ายกว่า GUI tool

กรณี #1
แบบไม่ค่อยเต็มใจจะเอา feature ออกเท่าไหร่ แก้บางไฟล์ใน last commit ก็พอ เราใช้ git checkout เพื่อ เอาไฟล์ออกมา เพราะการ checkout คือการเอาไฟล์จาก index หรือ statging area มาไว้ที่ working tree (directory) ซึ่งจริงๆแล้วการ checkout สามารถดึงไฟล์จาก commit ไหนก็ได้ ไม่ใช่เฉพาะจาก commit… อ่านต่อ...



#Story4 The rise of product mindset

Visit: https://codingugly.com/?p=24

วันนี้มาคุยกันเรื่อง Mindsets ของ Product vs Project ว่ามันแตกต่างกันอย่างไร และทำให้เราส่งมอบ product ที่ใช่ ถูกใจตลาดได้อย่างไรกันครับ ขอเริ่มจาก project mindset ก่อน

สมัยก่อนคำว่า project ไม่ได้เป็นคำที่ใช้กันมากนัก แต่ในยุคไม่กี่ทศวรรตหลังนี่เอง ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี กระบวนการและเครื่องมือใหม่ๆ ทำให้ Project กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดา เมื่อสิบกว่าปีก่อน ผมได้มีโอกาสไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ไปเห็นการทำงานแบบ result oriented และมีส่วนร่วมในการทำ software แบบ large scale ที่บริษัท Cisco Systems, Inc ทำให้เห็นภาพ project ใหญ่ๆเค้าทำกันยังไง project ส่วนใหญ่จะมีส่วนของ planning และส่วนของ executing และบทบาทของ Project Manager มีส่วนสำคัญมาก Project Manager มีหน้าที่รับผิดชอบในการวางแผน ค้นหาว่าจะทำอย่างไร ต้องทำอะไร ทำนานแค่ไหน และจะต้องใช้ budget เท่าใด และนี่คือสามเหลี่ยม Project Management นั่นคือ Scope, Time… อ่านต่อ...



Story#3 – How Technical Debt Works

Visit: https://codingugly.com/?p=16

เกริ่นนำ

ในการพัฒนาซอฟท์แวร์ด้วย Agile Development เรามักจะได้ยินบ่อยๆว่า deliver the right app, on time และ on budget แต่มีคำอยู่คำหนึ่งที่ dev ทุกคนเคยผ่านตามาบ้างคือ technical debt (อ่านว่า เด็ท ตัวบีไม่ออกเสียงนะครับ) และมันอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ product deliverables เกิดอาการเป๋ไปได้ หากไม่ได้ถูกจัดการอย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ

เช่นเมื่อกลางปีที่แล้ว ผมมีโปรเจคนึงไม่สามารถ upgrade ไป version ใหม่ได้ เพราะไม่ได้ upgrade software stacks ตามระยะ สุดท้ายต้องรื้อโค้ด ปัญหานี้เกิดบ่อยกับ startup ที่ต้องปล่อย app สู่ตลาดอย่างรวดเร็ว ออก features ใหม่ๆตามรอบ iterations อยู่ตลอดเวลา การหาเวลา upgrade จึงทำได้ยาก

ดังนั้นมาดูกันว่า technical debt มันทำงาน และจะจัดการกับมันอย่างไร

Technical debt ในสายตาของ product… อ่านต่อ...



Story#2 – Product Manager ฉบับอย่างย่อ

Visit: https://codingugly.com/?p=8

Software หรือ app delivery เป็น event ที่สำคัญของทีมพัฒนา software และเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของ product manager งานที่เขาต้องทำมีอยู่ 3 อย่างคือ discovering, planning และ executing เพื่อทำให้ส่งมอบ product ที่ใช่ ตรงเวลา และอยู่ใน budget หากมองถึงความซับซ้อนของงานที่ต้องทำ จะขึ้นกับขนาดของทีม, ขึ้นกับ stage ของ product ว่าอยู่ในช่วงไหน เป็นช่วง beta test หรือ go-live แล้ว, ประเภทของ product เป็นแบบไหน เป็น e-commerge, B2B, B2C, vendor หรือ in-house product และที่สำคัญคือ culture ของบริษัทเป็นแบบไหน ถ้าทีมเล็กๆ บางที product manager สามารถ handle คนเดียวได้สบาย ถ้าซับซ้อนและมีหลาย development ทีม อาจต้องมีทีมงานช่วยอีกแรง

ค้น
ใน… อ่านต่อ...



โรงเรียนสอนภาษา

party นักเรียนที่ต้องการฝึกการใช้ภาษามักจะเลือกประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับแรก ปัจจัยอย่างหนึ่งที่ให้มีนักเรียนมาศึกษาที่สหรัฐมากก็คือ ความหลากหลายของที่นี่ไม่ว่าจะเป็นพลเมืองที่มีหลายเชื้อชาติ อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและความเจริญทางด้านเทคโนโลยี อ่านต่อ... | 3 Comments



สถิตินักเรียนไทยในอเมริกา

ที่มา: Institue of International Education

การศึกษาต่อในประเทศสหรัฐอเมริกาของนักเรียนต่างชาติ ในช่วงปี พ.ศ. 2550-2551 มีนักศึกษาจากทั่วโลก จำนวนทั้งสิ้น 623,805 คน เดินทางไปศึกษาต่อ ในวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย ที่ได้รับการรับรองวิทยฐานะกว่า 3,000 แห่งของสหรัฐ ร้อยละ 61 ของนักศึกษาเหล่านี้ มาจากเอเชีย และประเทศต่างๆ ในแถบแปซิฟิก เฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรา มีอัตราการเพิ่ม 11.5% จากปีก่อนหน้า โดยน่าสนใจมากว่าเวียตนามมีอัตราการเพิ่มเยอะสุดคือ 45% ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 12% ในจำนวน 20 ประเทศทั่วโลก ที่ส่งนักศึกษาไปสหรัฐมากที่สุดนั้น ประเทศไทย มีนักศึกษาในสหรัฐ มากเป็นอันดับที่ 10 โดยมีนักศึกษาไทย อยู่ในสหรัฐประมาณ 9004 คน หรือ 1.4% ของนักเรียนต่างชาติทั้งหมด

สำหรับรัฐที่มีนักศึกษาต่างชาติเยอะที่สุดก็คือ California (84,800 คน) ตามมาด้วย New York (ุ69,844 คน) และ Texas (51,824) สำหรับ metropolitan… อ่านต่อ...



การซักผ้า – Laundry

ที่นี่เรื่องการบริการตัวเองเนี่ยมาเป็นอันดับแรกเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่คนทั่วๆไปคิดว่าเป็นงานที่น่าเบื่อประจำวัน งานบริการพวกนี้ก็เลยมีน้อยในอเมริกา เพราะฉนั้นก็ต้องทำเอง ที่นี่มีเครื่องอำนวยความสะดวกทางด้านการซักผ้าอบผ้าแห้ง โดยทั่วไปที่พักอาศัยตามบ้านก็มักจะมีเครื่องมือพวกนี้อยู่แล้ว แต่หากคุณต้องอาศัยในอพาร์ทเมนท์ สิ่งที่ต้องใช้ร่วมกันคือโรงซักผ้า ที่นี่จะมีเป็นห้องๆ โดยมีเครื่องซักให้หยอดเหรียญ โดยใช้เวลาในการซักก็ไม่นานประมาณ ครึ่งชั่วโมงถึงชั่วโมง หากเป็นวันเสาร์อาทิตย์ก็ต้องรีบมาดูผ้า เพื่อไม่ทำให้คนอื่นต้องเดือดร้อน หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยย้ายที่อยู่ไปหลายๆที่ในอเมริกา สิ่งที่จะพบเห็นก็คือความแตกต่างทางวัฒนธรรม หากคุณอาศัยในย่านคนเอเชียเยอะ ความวุ่นวายประสาเอเชีย ก็จะตามมานิดหน่อย เช่น ความไม่พอใจของคนที่มาใช้บริการการซักผ้า ต่อจากคุณ ซึ่งไม่มีเครื่องว่างพอ บางอย่างที่คุณไม่อาจคาดคิดก็อาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะฉนั้นต้องระวังบ้างพอสมควร ควรตั้งเวลาให้พอดี ไม่ควรปล่อยให้ผ้าที่ทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วต้องค้างในเครื่องนานๆ อ่านต่อ...



Ship ของกลับเมืองไทย

สิ่งหนึ่งที่นักเรียนไทยทุกคนที่เรียนจบและจะต้องกลับเมืองไทยต้องทำ ก็คือการชิ๊ปของใช้ส่วนตัวกลับเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องคอมพ์ เอกสารตำราเรียน รวมไปถึงของฝากเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง ข้อที่ควรคำนึงถึงอย่างแรกก็คือ เราจะเอาอะไรกลับได้บ้าง และจะต้องเสียภาษีนำเข้ารึป่าว มีอะไรบ้างที่ไม่จำเป็นต้องเอากลับ หรือขายทิ้งจะดีกว่ารึป่าว ผมแนะนำให้คิดดีๆซักนิดนึง เพราะการขนของกลับเมืองไทยคราวนี้จะต้องชิ๊ปกลับกับบริษัทชิ๊ปปิ้ง สิ่งของต้องลงเรือ และใช้เวลาเป็นเดือน กว่าที่ของจะไปถึงเมืองไทย ที่สำคัญเค้าคิดราคาตามปริมาตร ไม่ใช่น้ำหนัก เพราะฉะนั้นจะเอาอะไรกลับต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าด้วย

บริษัทที่ชิ๊ปสิ่งของกลับเมืองไทยส่วนใหญ่จะมีสำนักงานใหญ่อยู่ตามเมืองใหญ่ๆ เช่น New York, Los Angeles, Chicago, San Franscisco, etc. แต่เราสามารถติดต่อบริษัทให้มารับของหรือเราส่งของไปยังสาขาที่เค้ามีตามรัฐต่างได้ อันนี้ต้องลองติดต่อกันดูนะครับ

ข้อแนะนำในการส่งของกลับเมืองไทย

  • ของใช้ที่ไม่จำเป็น ผมแนะนำให้ทำการประกาศขายตามบอร์ดของยู หรือขายให้คนไทยกันเองนี่แหละ ยกให้ฟรีๆก็ได้ ควรทำแต่เนิ่นๆ อย่างจะขายรถต้องเผื่อเวลาไว้ซักเดือนนึงเลย (รถคงไม่ต้องขนกลับเมืองไทยนะครับ :-) )
  • เครืองใช้ไฟฟ้าที่เป็น 110v แนะนำว่าอย่าขนกลับจะดีกว่า เพราะต้องไปหาหม้อแปลงไฟเป็น 220v วุ่นวาย ถ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ adapter ก็ว่าไปอย่าง เพราะสามารถไปหาซื้อ adapter ที่เป็นไฟ 220v ที่เมืองไทยเปลี่ยนได้ ถ้าเป็นพวกเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มือถือ ที่เมืองไทยราคาก็สูสี (ได้ข่าวว่าซื้อ iPhone หรือ Blackberry กลับไปก็ไม่ค่อยคุ้มแล้ว เพราะต้องซื้อ


Video: มารู้จัก Google Map Street View

ไม่ว่าจะหาบ้าน อพาร์ทเม้นท์ มหาวิทยาลัย หรือจะไปวางแผนท่องเที่ยว Google Map Street View ช่วยทำให้เราได้รู้ว่าที่ตรงนั้นมันหน้าตาเป็นยังไงในระดับถนนเลยทีเดียว Street View ถูก integrate อยู่ใน Google Map อยู่แล้ว แต่จะมี Street View เฉพาะในอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ ญี่ปุ่น ลองดูวิดีโอข้างล่างนี้นะครับ



มาคำนวณค่าใช้จ่ายคร่าวๆกันเถอะ

ค่าใช้จ่าย

เนื่องจากค่าใช้จ่ายของแต่ละรัฐจะไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับค่าครองชีพ ในแต่ละเมือง โดยทั่วไปแล้วค่าใช้จ่ายในเมืองใหญ่ๆมักจะแพงกว่าเมืองเล็กๆมาก หรืออาจจะ 2-3 เท่าเลยทีเดียว แต่ก็ไม่แน่เสมอไป เมืองเล็กๆแต่เป็นเมืองท่องเที่ยวก็สามารถมีค่าครองชีพที่แพงได้ นักเรียนเอเชียมักจะเลือกเรียนรัฐที่อยู่ทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกาเช่น California เป็นต้น เราสามารถประเมินค่าใช้จ่ายต่อไปนี้เป็นค่าใช้จ่าย ที่จำเป็น แบ่งการใช้จ่ายออกเป็นสี่ส่วนดังนี้

1 รายวัน

  • ค่ารถ bus และ subway โดยทั่วไปสำหรับนักเรียนเมื่อแสดงบัตรแล้วจะไม่ต้องเสียค่าโดยสารแต่อย่างใด รถจะมาค่อนข้างตรงเวลามากๆ สามารถนำจักรยานติดหน้ารถหรือท้ายรถ busได้โดยพนักงาน จะลงมาช่วยเรายก ในกรณีที่เราต้องการความช่วยเหลือ ในเมืองใหญ่ที่มี subway ก็จะสามารถซื้อตั๋ว transit ไปยังระบบอื่นได้
  • ค่าอาหาร อาหารสดจะมีขายในซุปเปอร์มาเก็ต ในสหรัฐจะไม่ค่อยมีตลาดสด (open air market)เหมือนบ้านเรา ที่นี่ร้านจะเปิดตลอด 24 ชั่วโมงและอาหารสดจำพวกผัก เนื่อ หมู ไก่ นำผลไม้ นม จะราคาไม่แพงมากนักจะพอๆกับเมืองไทยเรา บางครั้งสามารถซื้อมาทำที่บ้านและเก็บไว้ทานได้หลายๆวัน ตามเมืองที่หนาวๆหน่อย อาหารจะเสียยาก สามารถเก็บไว้ได้นาน แต่อาหารจะเสียความชื้นค่อนข้างเยอะ ดังนั้นควรใช้พลาสติก wrap ปิดไว้ก่อนเก็บในตู้เย็น ค่าอาหารเฉลี่ยต่อวันก็ 5-10 เหรียญถ้าทานข้าวนอกบ้าน ในกรณีทึ่ทำกับข้าวทานเอง จะเซ็ฟเงินได้พอสมควร

2 รายเดือน



    Internship

    Internship คืออะไร

    คือการทดลองงานของนักเรียนในสหรัฐ (หมายถึงนักเรียนทุกคนรวมทั้งนักเรียนต่างชาติและก็ต้องรวมถึงนักเรียนไทย ที่กำลังเรียนอยู่ด้วย) โดยบริษัทที่มีความต้องการคน จะมารับสมัครในงาน Job fair ของยู หรือ ส่งอีเมล์มายังภาควิชา หรือนักเรียนที่ได้ส่งใบสมัครตรง หรือนักเรียนที่ได้คุยกันไว้บ้างแล้วในช่วงที่มาเปิดรับสมัครงานใน Job fair ของยูนั้นๆ โดยบริษัทจะดูที่ Resume และ ก็ Cover Letter การได้ทำ Internship ก็จะมีประโยชน์มาก อย่างน้อยหลังจากจบการศึกาษาแล้ว บริษัทที่รับทำ Internship ก็อาจจะรับไว้ต่อในกรณีที่เขาพอใจในผลงานของเรา สำหรับเรื่อง Internship เป็นเรื่องที่ค่อนข้าง Serious พอสมควรในแต่ละบริษัท เพราะต้องมีการวางแผนอย่างดี และจะทำยังไงต่อกับนักเรียนทีทำ Internship อยู่ ตรงนี้บริษัทมีโอกาสได้เลือกคนเข้ามาทำงานด้วย เพราะฉนั้นหากได้ Internship ก็ต้องแสดงฝีมือกันหน่อยนะ เพราะหมายถึงงานในอนาคตเลยนะ

    ระยะเวลา

    การทำ Internship ก็จะเป็นช่วง summer ประมาณ 2-3 เดือน หรือระหว่างเทอมก็มี เรียกว่า Co-op. ซึ่งจะมีระเบียบในการขอทำงานรวมถึงระยะเวลาในการทำงานด้วย ควรสอบถาม International Student Office ของยูตัวเองเอาแล้วกัน

    ค่าแรง

    ก็มีตั้งแต่ ทำงานให้ฟรีจนถึง ชั่วโมงละ… อ่านต่อ...



    การเดินทางโดยเครื่องบิน

    รายชื่อสนามบินในอเมริกา
    รายชื่อสายการบิน

    ด้วยความที่อเมริกาเป็นประเทศที่กว้างใหญ่ จึงทำให้การเดินทาง ทางอากาศเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย สังเกตได้จากจำนวนสนามบิน ที่มีกันแทบจะทุกเมือง รวมทั้งการแข่งขันทางด้านราคาของสายการบิน ที่มีอยู่มากมายจนจำกันไม่ไหว

    เมื่อถึงคราวที่คุณต้องเดินทางภายในอเมริกา สิ่งแรกที่คุณจะต้องทำก็คือ search หาราคาตั๋วเครื่องบิน ส่วนใหญ่ที่ผมและเพื่อนๆนิยมทำก็คือ จะเข้าไปในเว็บก่อนเพื่อที่จะดูว่า ราคาในช่วงใดเป็นอย่างไร เพราะการซื้อตั๋วเครื่องบินช้าเร็วต่างกัน มีผลทำให้ราคาแพงขึ้นหรือ ถูกลงด้วย โดยทั่วไปแล้วก็จะให้ซื้อก่อนเดือนทาง 1- 2 weeks กำลังดีครับ จากนั้นก็จะโทรไปถาม ตามเอเจนซี่ขายตั๋วเครื่องบินที่เป็นคนไทย เพื่อที่จะเปรียบเทียบราคา ที่เราหามาได้ ว่าอันไหนถูกกว่ากัน

    สำหรับการหาตั๋วทางอินเตอร์เน็ตนั้น จะได้เปรียบตรงที่เราสามารถ customize ข้อมูลที่เราต้องการได้ และฐานข้อมูลของเว็บไซต์พวกนี้ค่อนข้างจะมาตรฐานสูง เรียกได้ว่า มีแทบทุกสายการบินและจุดหมายปลายทาง ยิ่งถ้าเราค่อนข้างยืนหยุ่นในเรื่องวันเดินทางและสายการบินแล้ว คุณยิ่งหาตั๋วได้ถูกลงไปอีกครับ พักหลังผมซื้อตั๋วกับสายการบินโดยตรงบ่อยมาก

    รายชื่อเว็บไซต์ตั๋วเครื่องบินราคาถูก



    Making money ช่วง Summer

    งานช่วง Summer เรื่องนี้นักเรียนไทยหลายๆคน ยังไม่รู้ แม้กระทั่งนักเรียนไทยที่กำลังเรียนอยู่ในสหรัฐ ประเทศนี้มีงานให้ทำเยอะ ไม่ว่าจะเป็นงานนอกยู หรือในยู แต่นักเรียนจะสามารถทำได้เฉพาะในยูเท่านั้น เรื่องนี้น่าสนใจมาก เพราะนักเรียนต่างชาติสามารถทำงานในช่วง summer ได้ไม่จำกัดชั่วโมง อันนี้ขึ้นอยู่ว่าเราอยากได้ money หรือประสบการณ์ อ่านต่อ...



    ระบบเงินตราในอเมริกา

    ในอเมริกาธนบัตรจะเริ่มจาก $1 ดอลล่าร์ ขึ้นไป ต่ำกว่านั้นจะใช้ระบบเหรียญแทน ดังในตารางต่อไปนี้

    Coin
    Figure on Front
    Value (Cents)
    Value (Dollars)
    Color

    Penny
    Lincoln
    1 cent



    เปิดบัญชีธนาคาร

    Checking Account

    Checking Account มีประโยชน์มากในการจ่ายบิลต่างๆ เช่น ค่าเช่าอพาร์ทเมนท์, ค่าโทรศัพท์, ค่าไฟค่าน้ำ, ค่าอินเตอร์เน็ตม ค่าเคเบิลทีวี (utilities) เพราะบัญชีแบบนี้คุณสามารถเขียนเช็คสั่งจ่ายได้ ประการสำคัญ คนอเมริกันส่วนใหญ่ไม่นิยมพก เงินสด (cash) จำนวนมากๆติดตัว แต่จะใช้จ่ายด้วยเช็คและบัตรเครดิตเป็นหลัก

    การเปิดบัญชี checking นั้น คุณต้องฝากเงินเข้าบัญชีเมื่อเวลาคุณไปเปิดบัญชี คุณสามารถใช้เช็คเดินทาง (traveler’s check) เงินสด หรือจะโอนเงิน (wire transfer) จากธนาคารอื่นมาก็ได้ แต่อาจเสียค่าโอนประ มาณ $30-$40 นะครับ อีกอย่างที่คุณต้องมีเวลาไปเปิดบัญชีก็คือ Social Security Number ครับ เพราะ นั่นจะเป็นข้อมูลที่ทางธนาคารจะหักภา ษีจากดอกเบี้ยเงินฝากเรา แต่สำหรับนักเรียนต่างชาติแล้ว ไม่จำเป็นต้องเสีย ครับ ผมแนะนำให้ขอ form W-8 จากธนาคารมากรอกด้วย เพื่อที่จะได้ไม่ต้องโดนหักภาษีนี้ครับ

    หลักฐานที่ใช้เปิดบัญชีธนาคาร

    1. Passport
    2. Driver’s License or State ID
    3. Social Security Number Card


    Average weather in the U.S.




    การเขียน Admission Essay

    ที่มา:The Princeton Review

    สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการสมัครเข้ามหาวิทยาลัยในอเมริกาคือ เรียงความ (Admission Essay) ซึ่งคณะกรรมการผู้คัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนต่อต้องได้อ่านทุกคน ผมขอแนะนำว่าให้เริ่มเขียนแต่เนิ่นๆ เพราะจะช่วยให้เรามีเวลาทำอย่างอื่นด้วย อย่างน้อยที่สุด ควรจะเลือกหัวข้อที่จะเขียน และตั้งเวลาไว้เลยว่าเขียนเป็นเดือนแน่ อีกอย่างคือ อย่าลืมว่าคณะกรรมการแต่ละท่านไม่ได้พิจารณาเรียงความของเราเพียงคนเดียว เพราะฉะนั้นในควรจะเขียนเรียงความให้ได้เนื้อหาสาระมากที่สุด ไม่ใช่เขียนให้ได้คำมากที่สุด อ่านต่อ...



    Abbreviations of 50 States and 1 District*

    50 States and 1 District*

    usmap