Category: Student Life

การซักผ้า – Laundry

ที่นี่เรื่องการบริการตัวเองเนี่ยมาเป็นอันดับแรกเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่คนทั่วๆไปคิดว่าเป็นงานที่น่าเบื่อประจำวัน งานบริการพวกนี้ก็เลยมีน้อยในอเมริกา เพราะฉนั้นก็ต้องทำเอง ที่นี่มีเครื่องอำนวยความสะดวกทางด้านการซักผ้าอบผ้าแห้ง โดยทั่วไปที่พักอาศัยตามบ้านก็มักจะมีเครื่องมือพวกนี้อยู่แล้ว แต่หากคุณต้องอาศัยในอพาร์ทเมนท์ สิ่งที่ต้องใช้ร่วมกันคือโรงซักผ้า ที่นี่จะมีเป็นห้องๆ โดยมีเครื่องซักให้หยอดเหรียญ โดยใช้เวลาในการซักก็ไม่นานประมาณ ครึ่งชั่วโมงถึงชั่วโมง หากเป็นวันเสาร์อาทิตย์ก็ต้องรีบมาดูผ้า เพื่อไม่ทำให้คนอื่นต้องเดือดร้อน หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยย้ายที่อยู่ไปหลายๆที่ในอเมริกา สิ่งที่จะพบเห็นก็คือความแตกต่างทางวัฒนธรรม หากคุณอาศัยในย่านคนเอเชียเยอะ ความวุ่นวายประสาเอเชีย ก็จะตามมานิดหน่อย เช่น ความไม่พอใจของคนที่มาใช้บริการการซักผ้า ต่อจากคุณ ซึ่งไม่มีเครื่องว่างพอ บางอย่างที่คุณไม่อาจคาดคิดก็อาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะฉนั้นต้องระวังบ้างพอสมควร ควรตั้งเวลาให้พอดี ไม่ควรปล่อยให้ผ้าที่ทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วต้องค้างในเครื่องนานๆ อ่านต่อ...



Ship ของกลับเมืองไทย

สิ่งหนึ่งที่นักเรียนไทยทุกคนที่เรียนจบและจะต้องกลับเมืองไทยต้องทำ ก็คือการชิ๊ปของใช้ส่วนตัวกลับเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องคอมพ์ เอกสารตำราเรียน รวมไปถึงของฝากเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง ข้อที่ควรคำนึงถึงอย่างแรกก็คือ เราจะเอาอะไรกลับได้บ้าง และจะต้องเสียภาษีนำเข้ารึป่าว มีอะไรบ้างที่ไม่จำเป็นต้องเอากลับ หรือขายทิ้งจะดีกว่ารึป่าว ผมแนะนำให้คิดดีๆซักนิดนึง เพราะการขนของกลับเมืองไทยคราวนี้จะต้องชิ๊ปกลับกับบริษัทชิ๊ปปิ้ง สิ่งของต้องลงเรือ และใช้เวลาเป็นเดือน กว่าที่ของจะไปถึงเมืองไทย ที่สำคัญเค้าคิดราคาตามปริมาตร ไม่ใช่น้ำหนัก เพราะฉะนั้นจะเอาอะไรกลับต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าด้วย

บริษัทที่ชิ๊ปสิ่งของกลับเมืองไทยส่วนใหญ่จะมีสำนักงานใหญ่อยู่ตามเมืองใหญ่ๆ เช่น New York, Los Angeles, Chicago, San Franscisco, etc. แต่เราสามารถติดต่อบริษัทให้มารับของหรือเราส่งของไปยังสาขาที่เค้ามีตามรัฐต่างได้ อันนี้ต้องลองติดต่อกันดูนะครับ

ข้อแนะนำในการส่งของกลับเมืองไทย

  • ของใช้ที่ไม่จำเป็น ผมแนะนำให้ทำการประกาศขายตามบอร์ดของยู หรือขายให้คนไทยกันเองนี่แหละ ยกให้ฟรีๆก็ได้ ควรทำแต่เนิ่นๆ อย่างจะขายรถต้องเผื่อเวลาไว้ซักเดือนนึงเลย (รถคงไม่ต้องขนกลับเมืองไทยนะครับ :-) )
  • เครืองใช้ไฟฟ้าที่เป็น 110v แนะนำว่าอย่าขนกลับจะดีกว่า เพราะต้องไปหาหม้อแปลงไฟเป็น 220v วุ่นวาย ถ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ adapter ก็ว่าไปอย่าง เพราะสามารถไปหาซื้อ adapter ที่เป็นไฟ 220v ที่เมืองไทยเปลี่ยนได้ ถ้าเป็นพวกเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มือถือ ที่เมืองไทยราคาก็สูสี (ได้ข่าวว่าซื้อ iPhone หรือ Blackberry กลับไปก็ไม่ค่อยคุ้มแล้ว เพราะต้องซื้อ


Video: มารู้จัก Google Map Street View

ไม่ว่าจะหาบ้าน อพาร์ทเม้นท์ มหาวิทยาลัย หรือจะไปวางแผนท่องเที่ยว Google Map Street View ช่วยทำให้เราได้รู้ว่าที่ตรงนั้นมันหน้าตาเป็นยังไงในระดับถนนเลยทีเดียว Street View ถูก integrate อยู่ใน Google Map อยู่แล้ว แต่จะมี Street View เฉพาะในอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ ญี่ปุ่น ลองดูวิดีโอข้างล่างนี้นะครับ



มาคำนวณค่าใช้จ่ายคร่าวๆกันเถอะ

ค่าใช้จ่าย

เนื่องจากค่าใช้จ่ายของแต่ละรัฐจะไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับค่าครองชีพ ในแต่ละเมือง โดยทั่วไปแล้วค่าใช้จ่ายในเมืองใหญ่ๆมักจะแพงกว่าเมืองเล็กๆมาก หรืออาจจะ 2-3 เท่าเลยทีเดียว แต่ก็ไม่แน่เสมอไป เมืองเล็กๆแต่เป็นเมืองท่องเที่ยวก็สามารถมีค่าครองชีพที่แพงได้ นักเรียนเอเชียมักจะเลือกเรียนรัฐที่อยู่ทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกาเช่น California เป็นต้น เราสามารถประเมินค่าใช้จ่ายต่อไปนี้เป็นค่าใช้จ่าย ที่จำเป็น แบ่งการใช้จ่ายออกเป็นสี่ส่วนดังนี้

1 รายวัน

  • ค่ารถ bus และ subway โดยทั่วไปสำหรับนักเรียนเมื่อแสดงบัตรแล้วจะไม่ต้องเสียค่าโดยสารแต่อย่างใด รถจะมาค่อนข้างตรงเวลามากๆ สามารถนำจักรยานติดหน้ารถหรือท้ายรถ busได้โดยพนักงาน จะลงมาช่วยเรายก ในกรณีที่เราต้องการความช่วยเหลือ ในเมืองใหญ่ที่มี subway ก็จะสามารถซื้อตั๋ว transit ไปยังระบบอื่นได้
  • ค่าอาหาร อาหารสดจะมีขายในซุปเปอร์มาเก็ต ในสหรัฐจะไม่ค่อยมีตลาดสด (open air market)เหมือนบ้านเรา ที่นี่ร้านจะเปิดตลอด 24 ชั่วโมงและอาหารสดจำพวกผัก เนื่อ หมู ไก่ นำผลไม้ นม จะราคาไม่แพงมากนักจะพอๆกับเมืองไทยเรา บางครั้งสามารถซื้อมาทำที่บ้านและเก็บไว้ทานได้หลายๆวัน ตามเมืองที่หนาวๆหน่อย อาหารจะเสียยาก สามารถเก็บไว้ได้นาน แต่อาหารจะเสียความชื้นค่อนข้างเยอะ ดังนั้นควรใช้พลาสติก wrap ปิดไว้ก่อนเก็บในตู้เย็น ค่าอาหารเฉลี่ยต่อวันก็ 5-10 เหรียญถ้าทานข้าวนอกบ้าน ในกรณีทึ่ทำกับข้าวทานเอง จะเซ็ฟเงินได้พอสมควร

2 รายเดือน



    Internship

    Internship คืออะไร

    คือการทดลองงานของนักเรียนในสหรัฐ (หมายถึงนักเรียนทุกคนรวมทั้งนักเรียนต่างชาติและก็ต้องรวมถึงนักเรียนไทย ที่กำลังเรียนอยู่ด้วย) โดยบริษัทที่มีความต้องการคน จะมารับสมัครในงาน Job fair ของยู หรือ ส่งอีเมล์มายังภาควิชา หรือนักเรียนที่ได้ส่งใบสมัครตรง หรือนักเรียนที่ได้คุยกันไว้บ้างแล้วในช่วงที่มาเปิดรับสมัครงานใน Job fair ของยูนั้นๆ โดยบริษัทจะดูที่ Resume และ ก็ Cover Letter การได้ทำ Internship ก็จะมีประโยชน์มาก อย่างน้อยหลังจากจบการศึกาษาแล้ว บริษัทที่รับทำ Internship ก็อาจจะรับไว้ต่อในกรณีที่เขาพอใจในผลงานของเรา สำหรับเรื่อง Internship เป็นเรื่องที่ค่อนข้าง Serious พอสมควรในแต่ละบริษัท เพราะต้องมีการวางแผนอย่างดี และจะทำยังไงต่อกับนักเรียนทีทำ Internship อยู่ ตรงนี้บริษัทมีโอกาสได้เลือกคนเข้ามาทำงานด้วย เพราะฉนั้นหากได้ Internship ก็ต้องแสดงฝีมือกันหน่อยนะ เพราะหมายถึงงานในอนาคตเลยนะ

    ระยะเวลา

    การทำ Internship ก็จะเป็นช่วง summer ประมาณ 2-3 เดือน หรือระหว่างเทอมก็มี เรียกว่า Co-op. ซึ่งจะมีระเบียบในการขอทำงานรวมถึงระยะเวลาในการทำงานด้วย ควรสอบถาม International Student Office ของยูตัวเองเอาแล้วกัน

    ค่าแรง

    ก็มีตั้งแต่ ทำงานให้ฟรีจนถึง ชั่วโมงละ… อ่านต่อ...



    การเดินทางโดยเครื่องบิน

    รายชื่อสนามบินในอเมริกา
    รายชื่อสายการบิน

    ด้วยความที่อเมริกาเป็นประเทศที่กว้างใหญ่ จึงทำให้การเดินทาง ทางอากาศเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย สังเกตได้จากจำนวนสนามบิน ที่มีกันแทบจะทุกเมือง รวมทั้งการแข่งขันทางด้านราคาของสายการบิน ที่มีอยู่มากมายจนจำกันไม่ไหว

    เมื่อถึงคราวที่คุณต้องเดินทางภายในอเมริกา สิ่งแรกที่คุณจะต้องทำก็คือ search หาราคาตั๋วเครื่องบิน ส่วนใหญ่ที่ผมและเพื่อนๆนิยมทำก็คือ จะเข้าไปในเว็บก่อนเพื่อที่จะดูว่า ราคาในช่วงใดเป็นอย่างไร เพราะการซื้อตั๋วเครื่องบินช้าเร็วต่างกัน มีผลทำให้ราคาแพงขึ้นหรือ ถูกลงด้วย โดยทั่วไปแล้วก็จะให้ซื้อก่อนเดือนทาง 1- 2 weeks กำลังดีครับ จากนั้นก็จะโทรไปถาม ตามเอเจนซี่ขายตั๋วเครื่องบินที่เป็นคนไทย เพื่อที่จะเปรียบเทียบราคา ที่เราหามาได้ ว่าอันไหนถูกกว่ากัน

    สำหรับการหาตั๋วทางอินเตอร์เน็ตนั้น จะได้เปรียบตรงที่เราสามารถ customize ข้อมูลที่เราต้องการได้ และฐานข้อมูลของเว็บไซต์พวกนี้ค่อนข้างจะมาตรฐานสูง เรียกได้ว่า มีแทบทุกสายการบินและจุดหมายปลายทาง ยิ่งถ้าเราค่อนข้างยืนหยุ่นในเรื่องวันเดินทางและสายการบินแล้ว คุณยิ่งหาตั๋วได้ถูกลงไปอีกครับ พักหลังผมซื้อตั๋วกับสายการบินโดยตรงบ่อยมาก

    รายชื่อเว็บไซต์ตั๋วเครื่องบินราคาถูก



    Making money ช่วง Summer

    งานช่วง Summer เรื่องนี้นักเรียนไทยหลายๆคน ยังไม่รู้ แม้กระทั่งนักเรียนไทยที่กำลังเรียนอยู่ในสหรัฐ ประเทศนี้มีงานให้ทำเยอะ ไม่ว่าจะเป็นงานนอกยู หรือในยู แต่นักเรียนจะสามารถทำได้เฉพาะในยูเท่านั้น เรื่องนี้น่าสนใจมาก เพราะนักเรียนต่างชาติสามารถทำงานในช่วง summer ได้ไม่จำกัดชั่วโมง อันนี้ขึ้นอยู่ว่าเราอยากได้ money หรือประสบการณ์ อ่านต่อ...



    เปิดบัญชีธนาคาร

    Checking Account

    Checking Account มีประโยชน์มากในการจ่ายบิลต่างๆ เช่น ค่าเช่าอพาร์ทเมนท์, ค่าโทรศัพท์, ค่าไฟค่าน้ำ, ค่าอินเตอร์เน็ตม ค่าเคเบิลทีวี (utilities) เพราะบัญชีแบบนี้คุณสามารถเขียนเช็คสั่งจ่ายได้ ประการสำคัญ คนอเมริกันส่วนใหญ่ไม่นิยมพก เงินสด (cash) จำนวนมากๆติดตัว แต่จะใช้จ่ายด้วยเช็คและบัตรเครดิตเป็นหลัก

    การเปิดบัญชี checking นั้น คุณต้องฝากเงินเข้าบัญชีเมื่อเวลาคุณไปเปิดบัญชี คุณสามารถใช้เช็คเดินทาง (traveler’s check) เงินสด หรือจะโอนเงิน (wire transfer) จากธนาคารอื่นมาก็ได้ แต่อาจเสียค่าโอนประ มาณ $30-$40 นะครับ อีกอย่างที่คุณต้องมีเวลาไปเปิดบัญชีก็คือ Social Security Number ครับ เพราะ นั่นจะเป็นข้อมูลที่ทางธนาคารจะหักภา ษีจากดอกเบี้ยเงินฝากเรา แต่สำหรับนักเรียนต่างชาติแล้ว ไม่จำเป็นต้องเสีย ครับ ผมแนะนำให้ขอ form W-8 จากธนาคารมากรอกด้วย เพื่อที่จะได้ไม่ต้องโดนหักภาษีนี้ครับ

    หลักฐานที่ใช้เปิดบัญชีธนาคาร

    1. Passport
    2. Driver’s License or State ID
    3. Social Security Number Card