How-To: 5 ขั้นตอนการสมัครเข้ามหาวิทยาลัย
ที่มา:เอกสารสำหรับนักเรียนทุนก.พ.
Quick Overview
Step 1 สำรวจตัวเอง
Step 2 เลือกสถาบันอุดมศึกษา
Step 3 คำนวณค่าใช้จ่ายต่อปี
Step 4 เข้าใจภาคการศึกษา
Step 5 สมัครเรียน
คำแนะนำเรื่องการศึกษาระดับอุดมศึกษาในสหรัฐอเมริกานี้ กล่าวโดยทั่วไปเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ค่าใช้จ่าย ภาคการศึกษา การสมัครสถานศึกษา และการเตรียมตัวก่อนไปศึกษา สำหรับนักเรียนที่มุ่งเข้า ศึกษาต่อในระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี และปริญญาโทขึ้นไป
1. สำรวจตัวเอง
1.1 พื้นความรู้ หมายถึงการศึกษาที่ผ่านมาพร้อมทั้งผลการศึกษา ซึ่งผลการเรียนแสดงออกมาเป็นคะแนนเฉลี่ย (Grade Point Average or GPA) คะแนนเฉลี่ยนี้เป็นสิ่งประกอบสำคัญในการเลือกสถานศึกษา นักเรียนที่จะเข้าเรียน ในระดับปริญญาตรี ควรมีคะแนนเฉลี่ยอย่างตำ 2.5 ขึ้นไปทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเกณฑ ์การรับสมัคร ของสถานศึกษาแต่ละแห่ง และหลักฐานประกอบอื่นๆด้วย สถานศึกษาที่มีมาตรฐานสูง และมีชื่อเสียง ย่อมต้องการนักเรียนที่มีผลการเรียนดี ผู้ที่มีผลการเรียนไม่สูงถึงเกณฑ์ดังกล่าว ควรจะเลือกสถานศึกษา ที่เหมาะสมกับคุณสมบัติของผูสมัคร เพื่อที่สถานศึกษาจะได้ตอบรับให้เข้าศึกษา
1.2 ความรู้ความสามารถด้านภาษา ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการสอนในสหรัฐอเมริกา นักเรียนจำเป็นต้องมีความรู้เพียงพอในทุกๆด้าน คือ การพูด การฟัง การอ่าน การเขียน และความเข้าใจ เพราะมีความสำคัญ และจำเป็นต้องใช้ได้ดีทุกๆด้าน นักเรียนควรจะเข้าทดสอบ TOEFL ขณะที่ยังอยู่ในประเทศไทย เพราะการศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษเร่งรัด สำหรับนักเรียนต่างชาติในสหรัฐอเมริกานั้นค่าเล่าเรียน ค่าที่พัก อาหาร สูงประมาณเดือนละ 39,000 บาท
1.3 ค่าใช้จ่ายในการศึกษา นักเรียนควรมีเงินค่าใช้จ่ายเพียงพอสำหรับศึกษาจนกระทั่งสำเร็จหลักสูตร ค่าเล่าเรียน ที่พัก อาหาร ในสหรัฐอเมริกาสูงและเพิ่มขึ้นทุกปี การทำงานหารายได้มาเป็นค่าใช้จ่าย ในปัจจุบัน เป็นไปได้ยาก และกองตรวจคนเข้าเมืองในสหรัฐอเมริกาได้วางระเบียบห้ามไว้ผู้ที่ฝ่าฝืนระเบียบ ถ้าถูกจับได้ จะถูกลงโทษอย่างหนัก
1.4 สุขภาพ การมีสุขภาพการและใจที่เข้มแข็ง ตลอดจนพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง จะมีผลช่วย ให้ประสบความสำเร็จ ในการศึกษา นักเรียนต้องศึกษาในสถานศึกษาในสถานศึกษาที่มีสภาพแวดล้อมภูมิอากาศ การกินอยู่ ภาษา สังคม วัฒนธรรมที่แตกต่างจากเดิม นักเรียนต้องปรับตัวไปพร้อมๆ กับการศึกษา ณ สหรัฐอเมริกา จึงควรเตรียมสุขภาพด้วย ถ้าป่วยก็รักษาให้หายหรือบำรุงร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงก่อนไปศึกษา
Link: เตรียมตัวศึกษาต่อสหรัฐอเมริกา
2 เลือกสถาบันอุดมศึกษา
การศึกษาระดับอุดมศึกษาในสหรัฐอเมริกาเป็นการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆซึ่งผู้สมัครเข้าศึกษาต้อ งมีคุณสมบัติสำเร็จระดับมัธยมตอนปลาย (Grade 12 หรือมัธยม 6) มาแล้ว การศึกษาระดับนี้ เมื่อผู้ศึกษาสำเร็จตามหลักสูตรแล้ว จะได้รับปริญญาบัตรต่างๆ อาทิ อนุปริญญา ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ปริญญาทางวิชาชีพ สถาบันอุดมศึกษาแบ่งเป็นประเภทต่างๆได้แก่ วิทยาลัย 2 ปี และวิทยาลัยประจำท้องถิ่น (Junior and Community College) วิทยาลัย (College) มหาวิทยาลัย (University) สถาบันทางวิชาชีพ (Professional School) วิทยาลัยครู (Teacher College) สถาบันเทคโนโลยี (Institute of Technology) และวิทยาลัยทางเทคนิค (Technial Institute)
นักศึกษาส่วนใหญ่มักเลือกสมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ต่อไปนี้คือ วิทยาลัย 2 ปีและวิทยาลัยประจำท้องถิ่น เป็นสถานศึกษาสอนหลักสูตร 2 ปีรับนักเรียนที่จบ มัธยมตอนปลายแล้ว เข้าศึกษาในหลักสูตร 2 ปีเพื่อรับอนุปริญญา
หลักสูตรการสอนมี 2 ประเภทใหญ่ๆคือ
1. Transferable Program เป็นหลักสูตรเหมือน 2 ปีแรกของวิทยาลัยหลักสูตร 4 ปี วิชาที่เปิดสอนแก่นักศึกษาได้แก่วิชาทั่วๆไปทางศิลปศาสตร์และวิทยายศาสตร์ (Liberal Arts and Science) เช่นมนุษยศาสตร์ ธุรกิจ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ผู้ที่ศึกาาในหลักสูตรนี้สามารถโอนหน่วยกิตไปเรียนในปีที่ 3 ของวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เพื่อศึกษาต่อไปจนจบหลักสูตรปริญญาตรีได้ นักเรียนควรพยายาม ศึกษาให้ได้ผลคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรถึง 2.5 ขึ้นไป
2. Terminal/Occupational Program เป็นหลักสูตร 2 ปี เน้นหนักทางวิชาชีพส่งเสริม ให้นักศึกษามี ความสามารถในงานเทคนิค และงานกึ่งวิชาชีพ วิชาที่เปิดสอนมีอาทิเช่น air conditioning, data processing เลขานุการ ช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า เมื่อสำเร็จหลักสูตรแล้ว จะได้รับอนุปริญญา และสามารถประกอบอาชีพได้ทันที
Community College
เป็นสถานศึกษาที่มีแบบแผนเดียวกับ Junior College แต่มีจุดประสงค์การก่อตั้งเพื่อ ตอบสนองความ ต้องการด้านกำลังคนของท้องถิ่น ดังนั้นนักศึกษาส่วนใหญ่จึงเป็นประเภทไปกลับ ไม่อยู่ในหอพักของมหาวิทยาลัย หรือเป็นนักเรียนไม่เต็มเวลา (part-time) ลักษณะของ Community College เหมาะสมกับนักเรียนต่างชาติ ตรงที่มีขนาดเล็ก นักเรียนไม่มาก อาจารย์และนักศึกษามีความใกล้ชิด ค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายไม่สูง นักศึกษาไทย ที่เลือกเข้าเรียนในวิทยาลัย 2 ชนิดนี้ ควรเลือกวิทยาลัยที่มีหอพัก
วิทยาลัย (College)
เป็นสถาบันขั้นอุดมศึกษา หลักสูตร 4 ปี รับผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากมัธยมปลาย เข้าศึกษาให้ปริญญาตรี ทางสาขาศิลปศาสตร์ (Bachelor of Arts) และวิทยาศาสตร์ (Barchelor of Science) วิทยาลัยโดยทั่วไป เน้นความสำคัญของ การศึกษาในระดับปริญญาตรี เพื่อให้นักศึกษา มีความรู้พร้อม ที่จะศึกษาต่อใน ระดับปริญญาเอก และปริญญาทางวิชาชีพ วิทยาลัยประกอบด้วยแผนกหรือคณะ (department/school) ซึ่งเปิดสอนวิชาต่างๆอาทิเช่น ธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ การศึกษา บางแห่งมีบัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School) เปิดสอนบางสาขาวิชา ในระดับปริญญาโทด้วย วิทยาลัยมีมาตรฐานการศึกษาไม่แตกต่างจากมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัย (University)
เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ประกอบด้วยคณะ หรือ College ต่างๆซึ่งสอนวิชาในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก หลายๆแขนงวิชา และมักจะมีสถาบันทางวิชาชีพ (Professional School) อย่างน้อยที่สุด 2 แห่ง การศึกษาในมหาวิยาลัย มุ่งเน้นการสอนในระดับสูงกว่าปริญญาตรี บัณฑิตวิทยาลัย จึงเน้นการสอนและค้นคว้าวิจัย ในแง่วิชาการ ส่วนสถาบันทางวิชาชีพ เน้นในเรื่องการพัฒนาและการนำเอาทฤษฎีในแขนงต่างๆเช่น แพทย์ วิศวกรรม กฎหมาย มาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์
สถาบันทางวิชาชีพ (Professional School)
เป็นสถาบันทางวิชาชีพชั้นสูง โดยเฉพาะเช่น แพทยศาสตร์ กฎหมาย สถาปัตยกรรม ทันตแพทย์ วิศวกรรม สัตวแพทย์ เภสัชศาสตร์ บางแห่ง Professional School ตั้งขึ้นเป็นเอกเทศ แต่ส่วนมากจะเป็นคณะหนึ่ง ในมหาวิทยาลัยหลักสูตร 3-8 ปี แล้วแต่สาขาวิชา ปกตินักศึกษาจะเข้าศึกษาหลังจากที่สำเร็จปริญญาตรีมาแล้ว
3. คำนวณค่าใช้จ่ายต่อปี
(ข้อมูลจาก Study in the USA) ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อปี ของวิทยาลัย/มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา ประมาณได้ดังนี้
Estimated Average Costs for U.S. Colleges and Universities
Private |
State |
|||
|
||||
High |
Low |
High |
Low |
|
Tuition & Fees |
$29,000 |
$13,000 |
$15,000 |
$7,000 |
Room & Board |
7,500 |
4,500 |
7,500 |
4,500 |
Books & Supplies |
1,500 |
1,500 |
1,500 |
1,000 |
Personal Expenses |
8,500 |
4,500 |
7,000 |
3,500 |
|
||||
Total |
$46,500 |
$23,500 |
$31,000 |
$16,000 |
4. เข้าใจภาคการศึกษา (Academic Calendar) ปีการศึกษา (Academic Year)
โดยปกติมีระยะเวลาประมาณ 36 สัปดาห์ (9 เดือน) เริ่มต้นประมาณปลายเดือนสิงหาคม- ต้นเดือนกันยายน และไปสิ้นสุดราวปลายเดือนพฤษภาคม/ต้นเดือนมิถุนายนของปีถัดไป โดยแบ่งออกเป็นภาคการศึกษา สถาบันศึกษาในสหรัฐอเมริกาใช้ภาคการศึกษาหลายแบบแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับ ความต้องการของสถ านศึกษาและความนิยมชมชอบของท้องถิ่นนั้นๆ ดังต่อไปนี้
- ระบบ Semester แบ่งปีการศึกษาออกไป 2 semester ๆ ละประมาณ 16-18 สัปดาห์และอาจมี 1 หรือ 2 Summer Session Fall Semester ตั้งแต่เดือนกันยายน ถึงเดือนธันวาคม Spring Semester ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงพฤษภาคม Summer Session ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม
- ระบบ Quater แบ่างปีการศึกษาเป็น 4 Quater ๆ ละประมาณ 11-12 สัปดาห์คือ Fall Quarter ตั้งแต่กลางเดือนกันยายน ถึงเดือนธันวาคม Winter Quarter ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงกลางเดือนมีนาคม Spring Quarter ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม ถึงกลางเดืนอมิถุนายน Summer Quarter ตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม นอกจากนี้ยังมีระบบ Timester ภาคละ 15 สัปดาห์
- ระบบ Trimester และระบบ 4-1-4 ซึ่งมี 2 ภาคการศึกษา ๆละ 16 สัปดาห์ ( 4 เดือน) โดยมี Interim Term 1 เดือนประมาณเดือนมกราคม นักศึกษาต่างชาติควรเข้าศึกษาในเดือนสิงหาคมหรือกันยายน (เทอม Fall) ซึ่งนักศึกษาใหม่ส่วนมากจะเริ่มเข้าเรียนในระยะเวลาดังกล่าวนี้เพื่อที่จะได้ปรับตัวไปพร้อมๆกัน อีกประการหนึ่งคือวิชาหลายๆ วิชาที่เปิดสอนเป็นวิชาที่นักศึกษาจะต้องเรียนต่อเนื่องกันไปตามลำดับยากง่าย โดยเริ่มต้นในเทอม Fall และต่อเนื่องเทอมถัดไปตลอดปี
อย่างไรก็ตามนักศึกษาต่างชาติ ก็สามารถ สมัครเข้าศึกษาในระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี-โท-เอก ของวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยต่างๆได้ทุกเทอม คือในเดือนสิงหาคม มกราคม มีนาคม (ระบบ Quarter) และมิถุนายน ยกเว้น ในบางมหาวิทยาลัย หรือบางสาขาวิชาเช่น กฎหมาย อาจจะรับนักศึกษา ปีละครั้งในต้นปีการศึกษา เริ่มต้น เดือนสิงหาคม เท่านั้น
5 สมัครเรียน
5.1 เตรียมเรื่องเวลา นักเรียนควรส่งใบสมัครก่อนกำหนดเข้าเรียนในต้นปีการศึกษาคือเดือนสิงหาคม ประมาณ 6-12 เดือน โดยทั่วไปสถานศึกษามักจะมีกำหนดหมดเขตที่จะรับใบสมัครอย่างเร็วในเดือนมกราคม อย่างช้าในเดือนมิถุนายน สถานศึกษาที่เปิดรับให้นักศึกษาเข้าเรียนในกลางปีการศึกษา คือเดือนมกราคม มักจะหมดเขตรับใบสมัคร อย่างรวดเร็ว ราวต้นเดือนตุลาคมอย่างช้าราวกลางเดือนพฤศจิกายน ภาคฤดูร้อนระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ควรเป็นระยะเวลาที่นักศึกษาใหม่จะเข้าศึกษาวิชาในเทอม Fall ไปศึกษาวิชาภาษาอังกฤษเป็นการเตรียมตัว ก่อนเข้าศึกษา
5.2 การเลือกสถานศึกษา ควรเปรียบเทียบแต่ละมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในระดับ และสาขาวิชา ที่นักเรียนมุ่งเข้าศึกษาตามลำดบดังนี้คือ
- สาขาที่สมัครเข้าศึกษามีมาตรฐานวิชาการสูงระดับใด โดยประเมินจาก – จำนวนอาจารย์ ที่สอนและจำนวนวิชา ที่เปิดสอนมากน้อยแค่ไหน – คุณวุฒิ ประสบการณ์และงานวิจัยค้นคว้าของอาจารย์สอน
- สิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษา เช่นห้องสมุด ห้องทดลองปฏิบัติการ ศูนย์คอมพิวเตอร์
- สภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ นักเรียนต้องใช้เวลานาน 2-4 ปี จึงจะสำเร็จการศึกษา จึงควรเลือก สถานศึกษาที่นักเรียนจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับภูมิประเทศ สภาพอากาศ สถานศึกษา สังคมและวัฒนธรรมแวดล้อม นั้นได้ด้วย
- ค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าเล่าเรียน ค่าที่พัก ค่าอาหาร
- จำนวนนักเรียนที่ศึกษาในสถาบันนั้นๆในปัจจุบัน
- การรับรองสถาบัน (Institute Accreditation) และการับรองวิชาชีพ(Professional Accreditation) ของสถานศึกษาและวิชาที่เลือกสมัคร
5.3 การขอใบสมัคร (Application for Admission) เมื่อเลือกสถานศึกษาได้ประมาณ 5-10 แห่งแล้วนักเรียนควรติดต่อไปยังสถานศึกษานั้นเพื่อขอใบสมัครเข้าเรียน โดยแจ้งรายละเอียดพื้นฐาน การศึกษาที่สำเร็จสาขาวิชาที่จะเข้าศึกษาและกำหนดเวลาที่จะเรียน
- นักเรียนที่จะเข้าศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรีเขียนถึง Director of Admissions
- นักเรียนที่จะเข้าศึกษาระดับปริญญาโท/เอก เขียนถึง Dean of Graduate School
5.4 การส่งใบสมัครและเอกสารประกอบการสมัครสถานศึกษา เมื่อได้รับใบสมัครแล้วควรกรอกข้อความด้วยความระมัดระวัง ครบถ้วน สะอาด เรียบร้อยและส่งไปยังสถานศึกษานั้นๆ โดยตรงพร้อมทั้งแนบเอกสารต่างๆเหล่านี้ด้วย คือ
- หลักฐานการศึกษาภาษาอังกฤษฉบับจริง(Official Transcript)
- จดหมายรับรองของอาจารย์ผู้สอน/อาจารย์ที่ปรึกษา 2-3 ท่าน (Letters of recommendation)
- หลักฐานทางการเงินของผู้ปกครอง( financial statement)
- ใบรับรองสุขภาพจากแพทย์(ในกรณีที่สถานศึกษาแนบมากับใบสมัคร)
- เรียงความประวัติส่วนตัวของนักเรียน (Statement of Purpose) ทั้งประวัติการศึกษา ที่ผ่านมา และโครงการศึกษาต่อในสหรัฐอเมริกา ความตั้งใจเป้าหมายในการศึกษา
- รูปถ่ายของนักเรียน
- สำเนาผลการสอบต่างๆคือ TOEFL GMAT GRE SAT อย่างละ 1 ฉบับแล้วแจ้งให้ Educational Testing Service (EST) ส่งผลการสอบฉบับจริงโดยตรงไปยังสถานศึกษาต่อไป เมื่อสถานศึกษาได้เอกสารต่างๆ ครบก็จะพิจารณาแจ้งผลให้นักเรียนทราบ